วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สิทธิที่จะตายเลือกได้หรือ?

ได้มีโอการดูหนังเรื่อง แฮปปี้วาเลนไทน์ แล้วทำให้รู้สึกสงสาร ตัวพระเอกที่ต้องมาเฝ้าดูแลรักษาพยาบาลนางเอก ที่นอนแน่นิ่ง อยู่บนเตียงคนป่วย เนื่องจาก ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสมองได้รับความกระทบกระเทือน จนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ไม่สามารถรับรู้อะไรได้อีกเลย คิดว่าคนที่เจอกับเหตุการณ์อันเลวร้ายแบบนี้คงจะภาวนาให้เวลาช่วงนี้ผ่านพ้นไปโดยเร็วที่สุด หรือตัวผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงเองถ้าระบบประสาทของเขายังสามารถรับรู้ ความรู้สึกได้ ก็คงจะอึดอัดน่าดู เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และต้องมารับรู้ถึงความทุกข์ ความรู้สึกเจ็บปวดของคนรอบข้าง คิดว่าตัวผู้ป่วยเองก็คงอยากจะให้เวลาอันเลวร้ายที่แสนจะทรมารนี้ผ่านพ้นไปโดยเร็วเช่นกัน

ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับกฎหมายที่จะออกมาเพื่อให้สิทธิในการเลือกที่จะตาย ในกรณีของผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นแล้วว่าสมองตายแล้ว ไม่สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกใดๆทั้งสิ้น ไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้ ถือว่าผู้ป่วยคนนั้นได้ตายไปแล้ว ให้สิทธิเลือกที่จะตายได้ เพราะร่างกายไม่สามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดอีกแล้ว และจะได้ไม่เป็นการทรามาร จิตใจของญาติผู้ป่วยที่ต้องฝืนความจริงหวังว่าจะมีปาฏิหารย์จะช่วยให้ ผู้ป่วยฟื้นอีกครั้ง ต้องสูญเสียกำลังทรัพย์ก้อนใหญ่ในรักษาพยาบาล ไม่มีเวลา ไปประกอบกิจการงานใดๆได้ ทำให้ชีวิตหดหู่ และสิ้นหวังในที่สุด

ถึงแม้ไม่มีใครอยาก เจอกับสิ่งนี้ “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่ มี หนีไม่พ้น” แต่คนเราทุกคนก็ ต้องเจอกับความตาย เพียงแต่ว่า จะตายช้า หรือ ตายเร็วเท่านั้น ดังนั้นคนเราควรที่จะ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และ อยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวังในขณะที่ยังสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง เพื่อไม่ให้วเวลานั้นมาถึงตนอย่างรวดเร็วจนเกินไป ทำให้ คนที่อยู่รอบข้าง หรือคนที่รักเราและคนที่เรารัก ต้องมาเสียใจกับการจากไปของเรา ขอให้พวกเขามีความภาคภูมิใจ กับวันที่เราจากไปจะดีกว่าน่ะ

1 ความคิดเห็น:

  1. "ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง..." เห็นด้วยจริง ๆ ค่ะ

    ตอบลบ