วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จะทำอย่างไรเมื่อถูกบอกเลิกสัญญาเช่าอย่างไม่เป็นธรรม?

สัญญาการเช่าทรัพย์สิน
เป็น สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะได้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
1. เป็นสัญญาที่มิได้มุ่งหมายจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่เป็นการโอนสิทธิ์ครอบครองให้กับผู้เช่า
2. สัญญาที่มีวัตถุเป็นทรัพย์สิน คือวัตถุที่ให้เช่าอาจเป็นอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์ไม่มีรูปร่าง ตลอดจนสิทธิต่าง ๆ ที่มีราคาและอาจถืได้เช่น สิทธิในสัมปทาน
3. สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่มีข้อตกลงชั่วระยะเวลาอันจำกัด มีกำหนดระยะเวลาเช่าที่สิ้นสุดแน่นอน
4. เป็นสัญญาต่างตอบแทน เพราะฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน โดยที่อีกฝ่ายจะต้องเสียค่าเช่าตอบแทนให้
5. เป็นสัญญาที่ถือคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ ผู้ให้เช่า จะพิจารณาให้ผู้ใดเช่าทรัพย์สินของตนนั้น จะเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ เช่นห้ามมิให้มีการเช่าช่วงหากผู้ให้เช่ามิได้อนุญาต และเมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าก็จะระงับลง
6. ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ก็จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และถ้ากำหนดการเช่ากว่า 3 ปีขึ้นไป หรือ กำหนด ตลอดอายุของผู้เช่า หรือผู้ให้เช่า ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเท่านั้น

คุณจะทำอย่างไรเมื่อถูกบอกเลิกสัญญาเช่าอย่างไม่เป็นธรรม?
นางแดงได้ทำสัญญาเช่าตึกแถว กับนายปาน เป็นเวลา 3 ปี ( เริ่ม 1 ก.ค. 2550) และตกลงจะจ่ายค่าตอบแทนเป็นค่าเช่าเดือนละ 12000 บาท ทุกวันที่ 1 ของเดือน เมื่อนายปานตาย นางตา ผู้เป็นภรรยาของนายปานตัดสินใจขายตึกแถวหลังดังกล่าวให้กับ เฒ่าแก่แสง เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ เ ฒ่าแก่แสงตั้งใจซื้อตึกดังกล่าวเพื่อจะเปิดร้านสะดวกซื้อ จึงแจ้งให้นางแดงย้ายออกไปเพราะตนได้ซื้อเสร็จเด็ดขาด(โอนกรรมสิทธิ์) แล้วเมื่อวานนี้ (30 มิ.ย.2552) นางแดงแจ้งต่อ เฒ่าแก่แสง ว่า ตนทำสัญญาเช่าตึกไว้3 ปี ซึ่งยังไม่ครบกำหนดยังอยู่ต่อได้อีก1 ปี และจะขออยู่ต่อจนครบ อายุสัญญา และเมื่อวานนี้ นางตาได้มารับเงินค่าเช่าของเดือนนี้ล่างหน้าไปแล้ว เฒ่าแก่แสงบอกว่าจะให้เช่าต่อจนครบสัญญาเช่าก็ได้ แต่ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับตนโดยเริ่มตั้งแต่เดือนนี้ ละขอเพิ่มค่าเช่าเป็น 15000บาทต่อเดือน จนครบสัญญา
สรุปผลของกรณีดังกล่าว
1. นางแดงยังคงมีสิทธิ์เช่าตึกนั้นต่อไปจนครบสัญญา เช่า 3 ปี
2. เงิน 12000บาทที่ นางตารับไปเป็นค่าเช่าล่วงหน้านั้น นางแดงจะต้องติดตามทวงคืนเอาจากนางตา และนางตาจะอ้างว่า ได้แจ้งให้ เฒ่าแก่แสงทราบล่างหน้าแล้วไม่ได้ ถือเป็นการรอนสิทธิ
3. นางแดงไม่ต้องจ่ายค่าเช่า 15000บาทต่อเฒ่าแก่แสง และจ่ายเพียง 12000 ต่อเดือนให้กับ เฒ่าแก่แสงนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2552 จนครบสัญญา เช่า 3 ปี
หากเพื่อนๆ มีอะไรจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมขอเชิญนะค่ะ

เพื่อนคิดว่านางตาจะยอมคืนเงิน 12000บาทให้ นางแดงหรือไม่?

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้า ทำงานอยู่ที่บริษัทไทยแลนด์สเมลติ้งแอนด์รีไฟนิ่งจำกัด หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไทยซาร์โก้ ซึ่งเป็นโรงงานถลุงดีบุกมีแห่งเดียวในประเทศไทย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

1. กฎหมายว่าด้วยการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องเมื่อมีการเริ่มต้นจะก่อสร้างโรง ตัองขออนุญาติจากอุตสหกรรม จังหวัด เพื่อขอสร้างโรงงาน

2. กฎหมาย แรงงาน เกี่ยวข้อง กับการจ้างพนักงานและและการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำแก่คนงาน ที่มาปฏิบัติงานในโรงงาน รวมทั้งเรื่องของการมีวันลาหยุด วันพักร้อน ตามกฎหมายแรงงานกำหนด

3. กฎหมายการประกันสังคม เกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานหรือคนงานเกิน 1 คน บริษัทต้องมีหน้าที่ดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนให้กับลูกจ้าง และบริษัทจะต้องนำส่งเงินสมทบส่วนของลูกจ้างและเงินสมทบส่วนของนายจ้างเป็นรายเดือน ต่อสำนักงานประกันสังคมของจังหวัดนั้น

4. กฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เกี่ยวข้องเนื่องจากบริษัทเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้พลังงานจาก น้ำมันเตา, น้ำมัน, ถ่านหิน, ไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้ความร้อน 3600%C ในการหลอมละลายสินแร่ดีบุก กฎหมายสิ่งแวดล้อมควบคุม ฝุ่น ควันจากกระบวนการผลิตรวมทั้งการขนส่งพลังงานและวัตถุดิบคือแร่และถ่านหิน

5. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากแร่ดีบุกเป็นทรัพยากรธรรมชาติจึงมีกฎหมายมาควบคุมดูแลที่มาที่ไปของดีบุก กล่าวคือกฎหมายควบคุมทุกครั้งที่มีการขนย้าย จากโรงงานไปยังลูกค้า หรือ จากผู้ขายแร่มายังโรงงานจะต้องยื่นคำขอใบอนุญาตขนแร่ โดยหน่วยงานทรัพยากร (ปัจจุบัน รวมอยู่กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด) จะเป็นผู้อนุมัติ ออกใบอนุญาติขนแร่ ให้กับผู้ที่ยื่นคำขอ

6. กฎหมายศุลกากร เกี่ยวข้องเนื่องจาก บริษัทต้องนำเข้า วัตถุดิบคือดีบุกทั้งที่อยู่ในลักษณะสินแร่ และที่เป็นโลหะ และ ในขณะเดียวกัน ลูกค้า ของบริษัท ส่วนใหญ่ก็เป็นลูกค้าต่างประเทศ ดังนั้นข้นตอนการนำเข้าและส่งออกจึงเกี่ยวข้องกับกฎหมายศุลกากร

7. กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องส่งมอบสินค้าจากโรงงานไปยังลูกค้าโดยรถบรรทุก และการขายไบรรทุก เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าภายในประเทศ และส่งมอบที่ท่าเรือสำหรับลูกค้าต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามขอบังคับของกฎหมายเรื่องการควบคุมน้ำหนักการบรรทุก

8. กฎหมายเกี่ยวกับภาษีและสรรพกร เนื่องจากบริษัทได้จดทะเบียนขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ดังนั้นทุกครั้งที่มีการซื้อวัตถุดิบเข้ามาบริษัทจะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มการ และเมื่อมีการขายสินค้าไปยังลูกค้าบริษัทมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีจากลูกค้าด้วยเพื่อนำส่งสรรพกรในเดือนถัดไป และในขณะเดียวกัน พนักงานซึ่งมีรายได้ ทางบริษัทมีหน้าที่หักภาษี รายได้ส่วนบุคคล ของพนักงานแต่ละคนไว้เพื่อนำส่งสรรพกร ส่วนตัวพนักงานซึ่งเผ้มีรายได้ต้องยี่นใบ ภงด91, ภงด90,ภงด94 ต่อสรรพกร ภายใน31 มีนาคม ของทุกปี เพื่อยืนยันการเป็นผู้มีเงินได้ที่แท้จริง